บทความ เรื่อง สิว ๆ สำหรับ วัยรุ่น เราก็ดูแลเองได้ รวบรวมทุกปัญหา สิว
ติดต่อลงโฆษณา แบนเนอร์ ราคาถูกต่อเดือน หรือตามความต้องการ คลิกเลย!
ดู: 5|ตอบกลับ: 0

เทียบรถยนต์ไฟฟ้ากับรถน้ำมัน ทำไมต้องจ่ายเบี้ยประกันแพงกว่า

[คัดลอกลิงก์]

420

กระทู้

420

โพสต์

1958

เครดิต

Gold Member

Rank: 6Rank: 6

เครดิต
1958
เทียบรถยนต์ไฟฟ้ากับรถน้ำมัน ทำไมต้องจ่ายเบี้ยประกันแพงกว่า ต้องยอมรับจริง ๆ ว่ากระแสรถไฟฟ้าในตลาดรถยนต์ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง เหล่ากู๊ดดี้คนไหนกำลังอยู่ในขั้นตอนตัดสินใจใช้รถประเภทนี้ ควรเผื่อค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นไว้ด้วย โดยเฉพาะค่าประกันภัยรถยนต์ จริงอยู่ว่า รถไฟฟ้าบำรุงรักษาน้อยกว่ารถน้ำมัน ชาร์จไฟก็ถูกกว่าการเติมน้ำมัน แล้วประกันรถยนต์ล่ะ ราคาถูกกว่าด้วยมั้ย?

เปรียบเทียบรถไฟฟ้ากับรถน้ำมันต่างกันยังไง

ประกันรถไฟฟ้าแพงกว่าประกันรถน้ำมันจริงมั้ย? มาดู 3 ข้อเปรียบเทียบรถไฟฟ้ากับรถน้ํามันที่ส่งผลต่อค่าเบี้ยประกันรถกัน


ทุนประกัน
ทุนประกันรถไฟฟ้าสูงกว่ารถน้ำมัน เพราะรถไฟฟ้าต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ค่าอะไหล่และค่าซ่อมบำรุงมีต้นทุนค่อนข้างสูง จึงทำให้รถไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถน้ำมันทั่วไป ทุนประกันรถไฟฟ้าจึงสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้วงเงินสามารถคุ้มครองความเสี่ยงได้ครอบคลุม แต่ยังไงก็ขึ้นอยู่กับรุ่นรถด้วยนะ รถน้ำมันบางรุ่นอาจมีทุนประกันใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าเลย


ความคุ้มครอง
เมื่อทุนประกันรถไฟฟ้าสูงกว่า นั่นหมายความว่ารถไฟฟ้าจะได้รับความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่า โดยจะมีความคุ้มครองพิเศษเฉพาะรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเข้ามา ได้แก่ การคุ้มครองความเสียหาย หรือสูญหายของสายชาร์จรถไฟฟ้า และเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ ในกรณีความเสียหายเกิดจากการชน กระแทก และอุบัติเหตุ

ปัจจัยที่ทำให้ประกันรถไฟฟ้าแพงกว่า

หลังจากรู้ 3 ข้อหลักที่ส่งผลต่อการคิดค่าเบี้ยประกันรถแล้ว เชื่อว่าต้องมีคนสงสัยต่อไปอีกว่าทำไมประกันรถไฟฟ้าถึงแพงกว่า? อะไรทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ EV แพงกว่ารถยนต์ทั่วไป? สรุป 4 ปัจจัยที่ทำให้ประกันรถไฟฟ้าแพงกว่ามาให้แล้ว ตามนี้เลย


1. สัดส่วนรถไฟฟ้ายังน้อยกว่ารถน้ำมัน
ข้อนี้สำคัญเลย พอลองมาเทียบสัดส่วนกันจริง ๆ จะพบว่าคนใช้รถไฟฟ้ายังน้อยกว่ารถน้ำมันอยู่มาก ลองดูตัวเลขยอดจดทะเบียนสะสมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561-2565 จากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ดังนี้

    ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) มียอดจดทะเบียนสะสมอยู่ที่ 32,081 คัน
    ยานยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) มียอดจดทะเบียนสะสมอยู่ที่ 42,415 คัน
    ยานยนต์ไฮบริด (HEV) มียอดจดทะเบียนสะสมอยู่ที่ 259,812 คัน

เมื่อจำนวนคนใช้น้อย บริษัทประกันก็ไม่มีตัวเลขสถิติมากพอให้คำนวณความเสี่ยงได้แม่นยำ การประเมินความเสียหายเมื่อรถไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุจึงยังไม่แน่นอน เลยทำให้บริษัทประกันต้องตั้งราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งต่อลูกค้าและบริษัทเอง และเพื่อทดแทนความเสี่ยงที่ยังไม่แน่นอนด้วย

2. ศูนย์บริการยังไม่ครอบคลุม
ศูนย์บริการรถไฟฟ้าในบ้านเรายังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับอู่รถยนต์ทั่วไป พอถึงเวลาต้องซ่อมรถครั้งนึง ค่าใช้จ่ายเลยค่อนข้างสูง การซ่อม หรือการเบิกอะไหล่ทำได้ยาก และใช้เวลานานกว่าการซ่อมรถน้ำมันที่มีศูนย์บริการอย่างเป็นทางการมากมายในไทย

3. ค่าแรงและค่าอะไหล่สูง
ข้อนี้สัมพันธ์กับข้อ 2 เมื่อศูนย์บริการน้อย ปัญหาที่ตามมา คือหาอะไหล่รถได้ยากขึ้น บางครั้งศูนย์บริการอาจไม่ได้เก็บสต๊อกอะไหล่ไว้ และไม่ได้หาได้ตามตลาดเชียงกงเหมือนรถน้ำมันทั่วไป ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถไฟฟ้าจึงแพงกว่ารถยนต์ทั่วไปเป็นเท่าตัว ดังนั้นบริษัทประกันจึงจำเป็นต้องคิดค่าเบี้ยประกันแพง เพื่อแบ่งเบาความเสียหายให้ได้มากที่สุด

ข้อนี้ยังเป็นปัจจัยเดียวกันที่ทำให้ประกันของรถยุโรป รถนำเข้า หรือรถ Luxury Car แพงมาก ๆ เช่นกัน เพราะค่าอะไหล่ ค่าชิ้นส่วนต่าง ๆ แพง ทำให้เวลารถเหล่านี้แจ้งเคลมทีนึง มีค่าใช้จ่ายสูงเหมือนกับรถไฟฟ้านั่นเอง

4. บริษัทประกันน้อยกว่า
ทุกวันนี้บริษัทประกันที่รับทำประกันรถไฟฟ้ายังมีอยู่แค่ไม่กี่เจ้า คู่แข่งในตลาดยังมีไม่เยอะ เพราะยังไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาเหมือนในตลาดประกันรถยนต์ทั่วไป รวมถึงยังไม่สามารถกำหนดเพดานราคาได้ ราคาค่าเบี้ยประกันรถไฟฟ้าเลยแพงอย่างที่เห็น


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้